Skip to content

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรเงิน ทั้งในด้านจัดหาและใช้จ่าย ให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตที่สูงขึ้น และมีความมั่นคงในชีวิต โดยใช้ควบคู่กับกระบวนการประเมินและปรับปรุงการดำเนินการ โดยแผนการเงินนั้นไม่ใช่แผนสำเร็จรูป แต่เป็นแผนเฉพาะที่เหมาะกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแต่ละคน

หลักสูตรวางแผนการเงิน : ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน (CFP Module 1)

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์แห่งนี้ นั่นหมายความว่า คุณมีความสนใจในเรื่อง การวางแผนการเงินส่วนบุคคล ตลอดจนมีความสนใจที่จะ “วางแผน” การเงินส่วนตัวของคุณเอง

หลักการของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้น ประกอบด้วยหลายๆ องค์ประกอบ ได้แก่

  • การบริหารสภาพคล่อง
  • การวางแผนบริหารความเสี่ยง
  • การลงทุนเพื่อเป้าหมายต่างๆ
  • การส่งต่อความมั่งคั่ง
การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

องค์ประกอบในการบริการวางแผนการเงิน

5

TAX PLANNING


วางแผนภาษี และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี

ในทางปฏิบัติ สามารถอธิบายให้เห็นภาพด้วย “ปิระมิดทางการเงิน” ที่จะทำให้บุคคล “รู้” ว่าในการจัดการการเงินของชีวิตนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบใด ก่อนและหลัง

การบริหารสภาพคล่อง

จากพิระมิดทางการเงินจะเห็นได้ว่า ส่วนสำคัญใน ลำดับแรก ของการจัดการการเงินนั้นคือ “การจัดการหรือบริหารสภาพคล่อง” บุคคลจำเป็นต้องมีสภาพคล่องให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องตามมา และอาจลุกลามไปจนเกิดเป็นปัญหาหนี้สินได้ ดังนั้น การจัดการสภาพคล่องจึงถือว่าเป็นภารกิจลำดับแรกสุดของการจัดการการเงินส่วนบุคคล ผ่านหลักการง่ายๆ คือ รายได้ ต้องมากกว่า รายจ่าย หากมีหนี้สินต้องจัดการหนี้สินให้เรียบร้อย เพื่อให้เกิดสภาพคล่องให้ได้ จึงจะถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างรากฐานของพิระมิดทางการเงิน

ลำดับต่อมา เมื่อรากฐานมั่นคง บุคคลมีสภาพคล่อง แต่หากสภาพคล่องนั้นมีมากจนเกินไปจะทำให้บุคคลเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทน เนื่องจากสินทรัพย์สภาพคล่องนั้นไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ซ้ำร้ายยังเสื่อมมูลค่าในระยะยาวเสียอีก ดังนั้น สภาพคล่องที่บุคคลสมควรดำรงไว้ในทางหลักการแล้วคือประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่าย เผื่อไว้กรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ หรือตกงาน จะได้ดึงสภาพคล่องส่วนนี้มาใช้จ่ายในยามจำเป็นเท่านั้น ส่วนที่เหลือจากส่วนนี่ จะต้องนำไปทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้วยการลงทุนนั่นเอง

แต่เดี๋ยวก่อน ! ! ลองย้อนกลับไปดูที่ปิระมิดทางการเงินของเราก่อน จะเห็นว่า ก่อนที่จะถึงขั้นตอนของการลงทุนเพื่อเป้าหมายนั้น ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำก่อน นั่นคือการปกป้องเงินที่หามาได้ให้ปลอดภัย ก่อนที่จะนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุน


การบริหารความเสี่ยง

หลังจากที่เราบริหารสภาพคล่องจนประสบความสำเร็จแล้ว หรือพูดง่ายๆ ก็คือบริหารรายรับให้มากกว่ารายจ่าย หากเรานำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนเลย อาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก

เพราะการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง มาก-น้อย แตกต่างกันไปตามประเภทหลักทรัพย์ลงทุน นั่นหมายความว่า เมื่อได้นำเงินไปลงทุนแล้ว เราไม่สามารถการันตีผลตอบแทนได้ ในบางช่วงเวลาของการลงทุนอาจเกิดผลกำไร ในบางช่วงอาจขาดทุน แต่ความเสี่ยงของการลงทุนสามารถถูกขจัดออกไปด้วยระยะเวลาของการลงทุน

แต่ถ้าหากในช่วงเวลาระหว่างนั้นเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นมากระทันหัน อันเป็นเหตุให้ต้องใช้เงินจำนวนมากล่ะ หากสภาพคล่องที่มีก็ยังไม่เพียงพอ จนในที่สุดต้องตัดสินใจขายหลักทรัพย์ลงทุนออกมาในช่วงจังหวะที่ราคาหลักทรัพย์ต่ำกว่าต้นทุนล่ะ นี่จึงเป็นเหตุผลที่หลักการวางแผนการเงินส่วนบุคคลจำเป็นต้องมี การบริหารความเสี่ยงให้เพียงพอก่อนที่จะเริ่มลงทุนเสมอ เรียกว่า หาเงินมาได้ ควรต้องรักษาไว้ให้ดี

ในทางปฏิบัติแล้ว การบริหารความเสี่ยง ก็คือการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันวินาศภัย เป็นการโอนย้ายความเสี่ยงไปให้บริษัทที่รับทำประกัน โดยการจ่ายเบี้ยรายงวดในจำนวนน้อย เพื่อป้องกันเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้ไม่ต้องสูญเสียเงินก้อนใหญ่นั่นเอง ฉะนั้นแล้ว ในแง่การวางแผนการเงินส่วนบุคคล จะปฏิเสธในเรื่องการทำประกันก็คงไม่ได้ แต่ในฐานะนักวางแผนการเงิน จะแนะนำให้ทำประกันแค่เพียงพอและครอบคลุมความเสี่ยงของแต่ละบุคคล

โดยหลักการทำประกันให้ยึดหลัก ครอบคลุม + เพียงพอ + ยั่งยืน

  • ครอบคลุมภาระต่างๆ ที่ก่อไว้ เช่น มีบ้าน จำเป็นต้องทำประกันอัคคีภัย มีรถ จำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น
  • เพียงพอต่อการปรับตัวและความฝันของคนที่อยู่ข้างหลัง ในกรณีเสียชีวิต จำเป็นต้องทำประกันชีวิตโดยคำนวณทุนประกันให้เพียงพอสำหรับการปรับตัวของบุคคลที่อยู่ข้างหลัง
  • ยั่งยืน คือ จ่ายได้ ไม่ลำบาก สามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้ตลอดอายุสัญญา โดยปกติแล้วควรจ่ายเบี้ยประกันไม่เกิน 10% ของรายได้ หรือเท่ากับประมาณเงินเดือน 1 เดือน

การลงทุนเพื่อเป้าหมาย

เมื่อบริหารสภาพคล่องสำเร็จ และบริหารความเสี่ยงให้ชีวิตอย่างครอบคลุมแล้ว สถานะตอนนี้ก็จะพร้อมสำหรับการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตแล้ว

ซึ่งเป้าหมายทางการเงินของบุคคลนั้น แบ่งง่ายๆ ได้เป็น เป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

  • เป้าหมายระยะสั้น คือ เป้าหมายที่มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1-3 ปี เช่น เก็บเงินเรียนต่อ เก็บเงินแต่งงาน ซื้อรถคันใหม่
  • เป้าหมายระยะกลาง คือ เป้าหมายที่มีกำหนดระยะเวลา 3-7 ปี เช่น เก็บเงินสำหรับค่าเล่าเรียนบุตร
  • เป้าหมายระยะยาว คือ เป้าหมายที่มีกำหนดระยะเวลาเกิน 7 ปีขึ้นไป เช่น เก็บเงินสำหรับเกษียณอายุ

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล นั่นคือ เป้าหมายเกษียณ ยิ่งเราเริ่มวางแผนเกษียณเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะหากวางแผนช้า ย่อมถูกกดดันด้วยระยะเวลาทำงานที่เหลือน้อยลง หากเราวางแผนเร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสนำเงินที่เหลืออยู่ไปวางแผนในเป้าหมายอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

สำหรับการเลือกลงทุนนั้นก็มีหลายทางเลือกให้เลือก เช่น ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนรวม คริปโตเคอเรนซี สินทรัพย์ทางเลือก สินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ แต่ทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ทำงานประจำที่ไม่มีเวลาติดตามราคาของหลักทรัพย์นั้น นักวางแผนการเงินจะแนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งถึงแม้จะมีสภาพคล่องที่ต่ำกว่าหุ้น แต่ก็มีข้อดีในแง่ของการมีผู้บริหารกองทุนที่คอยติดตามการลงทุนแทนเรานั่นเอง


การส่งต่อความมั่งคั่ง

เมื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินแล้ว บันไดขึ้นต่อไปก็คือการส่งต่อความมั่งคั่งเป็นมรดกให้กับลูกหลาน และคนที่อยู่ข้างหลัง เพื่อสร้างตำนานไว้ก่อนจะจากไป

บริการวางแผนการเงิน

การบริหารสภาพคล่อง

  • ขั้นตอนลำดับแรกสุดของ การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
  • จัดการให้รายได้มีมากกว่ารายจ่าย
  • จัดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
  • เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
  • บริหารสภาพคล่องให้มีจำนวนที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไป จะทำให้เสียโอกาสนำเงินไปลงทุนให้เงินนั้นเติบโต

” เราช่วยบริหารสภาพคล่อง ผ่านการตรวจสุขภาพทางการเงิน ให้คำแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้สิน วางแผนเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน ”

  • ชีวิตมีความเสี่ยง และความไม่แน่นอน
  • เงินที่หามาได้ อาจหมดไปเพราะเหตุการณ์ไม่คาดคิด
  • ดังนั้น สร้าง (เงิน) มาได้ ต้องรักษาไว้ให้ดี
  • ปิดความเสี่ยงของการมีอายุสั้นเกินไป ด้วยประกันชีวิต
  • ปิดความเสี่ยงของการมีอายุยืนเกินไป ด้วยประกันบำนาญ
  • ปิดความเสี่ยงของการเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยประกันสุขภาพ
  • ปิดความเสี่ยงอื่นๆ ด้วยประกันวินาศภัย
  • ทั้งนี้ควรเลือกทำประกันเท่าที่จำเป็น ไม่มากเกินไปจนเสียโอกาสนำเงินไปลงทุนให้เงินนั้นเติบโต

” เราช่วยวางแผนป้องกันความเสี่ยงตามความเสี่ยงเฉพาะบุคคล แนะนำแบบประกันที่เหมาะสมและคุ้มค่า ”

บริการวางแผนการเงิน
บริการวางแผนการเงิน

วางแผนการลงทุน

  • หลังจากปิดความเสี่ยงของชีวิตแล้ว ก็พร้อมนำเงินส่วนที่เหลือมาลงทุนให้งอกเงย
  • การลงทุนมีหลายรูปแบบ ควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเข้าใจ
  • ลงทุนแบบมีเป้าหมาย ไม่ใช่ลงทุนเป็นการพนัน
  • จัดพอร์ตและจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
  • การลงทุนระยะยาวช่วยลดความเสี่ยงได้
  • เลือกลงทุนที่เหมาะสมกับระยะเวลา

” เราช่วยวางแผนการลงทุนตามเป้าหมาย จัดพอร์ตตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ จัดสรรสินทรัพย์และติดตามผลอย่างน้อยทุกปี “

  • เป็นแผนสำคัญที่สุด ที่ทุกคนควรวางแผน
  • ควรเริ่มทำตั้งแต่เนิ่น เพราะระยะเวลามีผลต่อการเติบโตของพอร์ต

” เราวางแผนเกษียณให้คุณอย่างรอบคอบ คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณตามหลักการสากล และวางแผนโดยพิจารณาทุนเกษียณทุกพอร์ตของคุณก่อน “

บริการวางแผนการเงิน
บริการวางแผนการเงิน

วางแผนภาษี

  • ภาษีคือค่าใช้จ่าย จ่ายแล้วหมดไป
  • การวางแผนภาษี คือการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นการซื้อสินทรัพย์
  • ต้องวางแผนตลอดชีวิตการทำงานมีเงินได้

” เราช่วยวางแผนภาษีโดยละเอียด พร้อมให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท ให้คุณได้เลือกซื้ออย่างเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด “

  • แผนสำคัญสำหรับคนที่คุณรัก เพราะค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามีอัตราการเฟ้อเฉลี่ยถึง 5% ต่อปี
  • เป็นแผนที่ซับซ้อน เพราะต้องแยกวางแผนตามระยะเวลาใช้เงิน ระยะสั้น-กลาง-ยาว

” เราวางแผนการศึกษาบุตรอย่างรอบคอบ โดยมีการคำนึงถึงการป้องกันความเสี่ยงเพื่อเป็นทุนกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน บุตรของท่านจะยังคงได้รับเงินทุนสำหรับใช้เป็นทุนการศึกษาจนจบการศึกษาตามที่ท่านได้วางแผนไว้ “

กานต์วิณี โรจน์วงศ์วรา AFPT™
นักวางแผนการเงินอิสระ
Independent Financial Planner

ใบอนุญาต

  • ผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner เลขที่ 118711)
  • ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อน (Investment Consultant Complex 1)
  • ตัวแทนประกันชีวิต (เลขที่ 6501013300)

คุณวุฒิ

  • ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

บริษัท

  • AIA (เลขที่ตัวแทน 651400)
  • FINNOMENA (เลขที่ตัวแทน 118711)
  • Phillips (เลขที่ตัวแทน 118711)