Skip to content

เส้นทางสู่นักวางแผนการเงิน

กานต์วิณี โรจน์วงศ์วรา AFPT™


ประวัติการศึกษา
ป.โท บริหารธุรกิจ เอกการเงินและการธนาคาร (มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ป.ตรี วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (มหาวิทยาลัยมหิดล)

หาทางบริหารจัดการเงินทุกวิถีทาง (แบบไม่รู้หลักการ) กว่าจะก้าวข้ามผ่านมาได้ จนได้มีโอกาสศึกษาด้านการวางแผนการเงินด้วยตนเอง ได้ศึกษาหลักการที่ถูกต้อง และนำหลักการมาปรับใช้กับตัวเอง วางแผนเกษียณ วางแผนการเงินตามเป้าหมายสำคัญๆ ในชีวิต วางแผนรายได้-ค่าใช้จ่าย จัดทำ Action Plan ของตนเอง งบประมาณส่วนบุคคล จดบันทึกรายรับรายจ่าย ทำตามแผนที่วางเอาไว้ล่วงหน้าหลายปี

ปัจจุบันหมดปัญหาด้านการเงิน ไม่มีหนี้สิน มีการวางแผนบริหารสภาพคล่อง มีประกันชีวิตสำหรับปิดความความเสี่ยงและส่งต่อมรดกให้ลูกหลาน ประกันวินาศภัยปิดความเสี่ยงในชีวิต มีพอร์ตการลงทุนสำหรับเกษียณ แผนสำหรับเก็บเงินสำหรับท่องเที่ยว ซื้อรถคันใหม่ และเก็บเงินลงทุนแบบ DCA พร้อมทั้งติดตามแผนทุกเดือน

afterwards

เส้นทางสู่นักวางแผนการเงิน

พนักงานประจำในองค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เรียนจบด้านไอทีจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตลอดชีวิตการทำงานหลังเรียนจบ อยู่แต่ในสายงานไอที การทำงานอยู่ในส่วนของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การออกแบบเว็บไซต์ การผลิตสื่อทั้งออนไลน์/ออฟไลน์ และการตรวจสอบระบบงานไอที

จนกระทั่งวันหนึ่งที่ต้องเข้ามาดูแลระบบงาน ERP (Enterprise Resourse Planning) ขององค์กร ซึ่งผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process)

และนั่นทำให้เราตระหนักได้ว่า ในขณะที่เรามีความเข้าใจด้านระบบไอทีเป็นอย่างดี แต่กลับยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจมากพอ จึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจด้วยทุนของตนเอง โดยมีจุดประสงค์หลักเพียงอยากเข้าใจธุรกิจเพื่อที่จะช่วยให้การทำงานดีขึ้นเพียงเท่านั้น


ในระหว่างเรียน ป.โท บริหารฯ เอกการเงิน ก็รู้สึกสนใจในเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคล และการลงทุนเป็นพิเศษ จึงได้ตัดสินใจทำการวิจัยค้นคว้าอิสระในหัวข้อนี้ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาเรื่อง “การวางแผนการเงินส่วนบุคคล” ค่ะ

หลังจากเรียนจบ ก็มีพี่ที่เรียนด้วยกันแนะนำให้รู้จักกับอาชีพนักวางแผนการเงิน และคุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner) ซึ่งเป็นคุณวุฒิของนักวางแผนการเงิน เราได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจและตรงกับลักษณะของตัวเราที่ชอบให้คำปรึกษาและถ่ายทอดสิ่งที่รู้ให้กับคนรอบข้าง จึงตัดสินใจที่จะก้าวเข้ามาในสายงานอาชีพด้านการเงินนี้ โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับงานประจำที่ทำอยู่

เมื่อตัดสินใจได้ดังนั้นเราจึงเริ่มศึกษาว่า การจะเข้ามาทำอาชีพในสายงานนี้นั้นต้องทำอย่างไร ต้องใช้อะไรบ้าง

เราได้รู้ว่า ในสายงานการเงินนั้นมีอาชีพหลักๆ ได้แก่ ผู้แนะนำการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน วาณิชธนากร และ สายงานสนับสนุนธุรกิจ ซึ่งเมื่อประเมินตนเองแล้วเราเหมาะที่จะทำงานเป็น นักวางแผนการเงิน (Financial Planner) แต่การจะเป็นนักวางแผนทางการเงินได้นั้น อย่างน้อยที่สุดจำเป็นที่จะต้องมีใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner) ก่อน ซึ่งการจะได้ใบอนุญาตนี้นั้น จะต้องผ่านการทดสอบดังต่อไปนี้

  • หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป (Plain Products : Full paper / P1)
  • หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน: ตราสารหนี้และกองทุนรวม (Complex Products : P2)
  • หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน: สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Complex Products : P3)
  • หลักสูตรนักวางแผนการเงิน (Certified Financial Planner : CFP) ฉบับที่ 1
  • หลักสูตรนักวางแผนการเงิน (Certified Financial Planner : CFP) ฉบับที่ 2
กานต์วิณี-โรจน์วงศ์วรา เส้นทางสู่นักวางแผนการเงิน

ปัจจุบันเราได้ใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุนเป็นที่เรียบร้อย และได้รับคุณวุฒิที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM จากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการฝึกฝนเพื่อเข้าทีม Avenger Planner (www.avenger-planner.com)

นอกเหนือจากนี้ยังมีใบอนุญาตทางด้านประกัน คือ ใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต และใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เพื่อที่จะสามารถแนะนำการปิดความเสี่ยงของลูกค้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น

ในตอนนี้เราจึงพร้อมทั้งความรู้ เครื่องมือ และจิตใจ ในการที่จะเข้ามาเป็นนักวางแผนการเงินให้กับผู้ที่สนใจ

โดยมีลักษณะงานในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้า วิเคราะห์เป้าหมายและความต้องการ เพื่อวางแผนการเงินแบบองค์รวม จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และติดตามแผนให้กับลูกค้าอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้

แผนที่ทำจะเป็นแผนรายบุคคล ที่ปรับให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย ที่อาจมีความแตกต่างทั้งในด้าน เป้าหมาย อาชีพ รายรับ รายจ่าย หนี้สิน ภาระ เป็นต้น

ทั้งนี้ ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบอย่างแน่นอนค่ะ หากสนใจใช้บริการ สามารถศึกษาได้ที่ ลิงค์ นี้ค่ะ

Garnvini Rojwongwara AFPT™
นายหน้าประกันวินาศภัย


ช่องทางติดต่อสื่อสาร

082-492-2653

@greatlifeadviser

GReat Life Advisor