Skip to content
Home » ความเสี่ยงในชีวิตของคนเรา

ความเสี่ยงในชีวิตของคนเรา

ความเสี่ยงในชีวิตของคนเรา

ความเสี่ยงในชีวิตของคนเรา

ความเสี่ยงในชีวิตของคนเรา วันนี้จะมาพูดเรื่องการจัดการความเสี่ยงในชีวิต ก่อนอื่นลองมานึกดูกันหน่อยว่าในชีวิตของคนเรามีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

ความเสี่ยงในชีวิต ของคนเราได้แก่

  • ความเสี่ยงที่เราจะมีชีวิตยืนยาวเกินไป – ในบั้นปลายชีวิตที่เราไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว หากเรามีชีวิตยืนยาวโดยที่มีเงินเก็บไว้ไม่เพียงพอ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิต
  • ความเสี่ยงที่เราจะมีชีวิตสั้นเกินไป – ในขณะที่เรายังอายุไม่มาก เป็นวัยทำงาน มีภาระเลี้ยงดูหลายชีวิต บางคนต้องส่งเสียพ่อแม่ บางคนมีลูกมีครอบครัว หากเราเกิดเสียชีวิต หลายชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดความลำบากในการใช้ชีวิต เช่น หากลูกยังเล็กและเราเป็นเสาหลักของครอบครัว หากเสียชีวิตไปย่อมกระทบการศึกษาและคุณภาพชีวิตและการเติบโตของลูกแน่
  • ความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพ – การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ทุกคนต่างรู้ดีว่าคำกล่าวนี้ไม่เกินความจริง ไม่เพียงแต่ตัวเอง แต่กับทุกคนที่อยู่ในความดูแลของเรา การเจ็บป่วยแต่ละครั้งก่อให้เกิดผลเสียตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ความเสี่ยงต่องานและรายได้ และค่าใช้จ่ายในการติดตามอาการและฟื้นฟู บ่อยครั้งที่หลายคนต้องสูญเสียเงินเก็บทั้งหมดไปเพราะเหตุนี้ มิหนำซ้ำบางคนยังจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินมาเนื่องจากเงินเก็บที่มีไม่เพียงพอค่ารักษาพยาบาล
  • ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ – คล้ายกันกับปัญหาสุขภาพ แต่อุบัติเหตุที่ร้ายแรงอาจทำให้ถึงกับเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ส่งผลในทำนองเดียวกันกับการมีชีวิตสั้นเกินไป และส่งผลต่อหน้าที่การงาน
  • ความเสี่ยงจากการไม่มีรายได้/ไม่มีงานทำ – ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต วันใดที่ขาดรายได้ ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิต
  • ความเสี่ยงด้านทรัพย์สินหรือธุรกิจเกิดความเสียหาย – กว่าจะได้ทรัพย์สินมาก็ว่ายากแล้ว การจะรักษาไว้ให้นานก็ยากไม่แพ้กัน มีบ้านอยู่ ไฟไหม้ครั้งเดียวก็วอดวาย มีรถใช้ เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาค่าซ่อมก็ราคาไม่ถูก
  • ความเสี่ยงด้านความสามารถในการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพัน – หลายครั้งที่สินทรัพย์ราคาสูงไม่ได้หามาได้ง่ายๆ ต้องใช้เงินจำนวนมาก เราก็มักต้องกู้ยืม แต่ชีวิตคนเราอะไรก็เกิดขึ้นได้ หากวันใดวันนึงชีวิตเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สินทรัพย์ที่อุตส่าห์ผ่อนมาสุดท้ายก็จะต้องถูกเจ้าหนี้ยึดกลับคืน

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งเกินจริงในชีวิตของคนเราเลย เราสามารถเห็นได้บ่อยครั้งกับคนใกล้ตัวตลอดทั้งชีวิตของเรา

และเมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น หากเราไม่มีการป้องกันความเสี่ยงที่ดีพอ รายได้ที่เราหามาสุดท้ายก็อาจหมดไปง่ายๆ คนที่เรารักก็ได้รับผลกระทบ นี่จึงเป็นที่มาของแนวคิดการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและการเงิน โดยการโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกัน (Transfer) คือการจ่ายค่าเบี้ยประกันในจำนวนน้อย เพื่อซื้อความคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ดังนั้นหลักการสำคัญของการซื้อประกัน จึงควรซื้อให้ครอบคลุม (ภาระต่างๆ ที่ก่อไว้) เพียงพอ (สำหรับการปรับตัวของคนข้างหลัง) และยั่งยืน (จ่ายได้ไม่ลำบาก)

ในความเป็นจริงกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ยังมีรายละเอียดและหลักการมากกว่านี้ ไว้วันหลังจะนำมาแชร์ให้ทุกๆ ท่านได้ทราบและนำมาปรับใช้ในการวางแผนการเงินของตนเองนะคะ

ติดต่อ สอบถาม รับคำปรึกษา
Line @greatlifeadviser หรือคลิก https://lin.ee/Lq9D46f
Web www.greatlifeadvisor.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *