Skip to content
Home » ประกันชีวิตมีทั้งหมดกี่แบบ

ประกันชีวิตมีทั้งหมดกี่แบบ

ประกันชีวิตมีทั้งหมดกี่แบบ

ประกันชีวิตมีทั้งหมดกี่แบบ

ประกันชีวิตมีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบมีลักษณะอย่างไรบ้าง วันนี้มาทำความรู้จักแบบของประกันชีวิตกันค่ะ

ก่อนอื่นขอแนะนำคำศัพท์สำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยคุ้นชินก่อนนะคะ

  • เบี้ยประกันชีวิต = เงินที่ต้องจ่ายเพื่อทำประกันชีวิต
  • ผู้จ่ายเบี้ยประกัน = ผู้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต
  • ผู้เอาประกัน = ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้ทำประกัน (อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันชีวิต)
  • ทุนประกันชีวิต = จำนวนเงินผลประโยชน์ที่บริษัทประกันจะจ่ายเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือเมื่อครบสัญญา

ประกันชีวิตมีทั้งหมด 5 แบบด้วยกัน ดังนี้

ประกันชีวิตมีทั้งหมดกี่แบบ

1) ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)

“คุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง จ่ายเบี้ยทิ้ง เบี้ยถูกมากๆ ทุนประกันสูง ไม่มีสัญญาเพิ่มเติม จ่ายผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิตเท่านั้น ครบระยะเวลาไม่มีเงินคืน เหมาะสำหรับคุ้มครองสินเชื่อ”

ประกันชีวิตแบบนี้จะมีระยะเวลาคุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะคุ้มครอง 5,10,15 และ 20 ปี ลักษณะของประกันชีวิตแบบนี้จะมีเบี้ยประกันชีวิตที่ต่ำมากๆ ต่ำที่สุดในบรรดาประกันชีวิตทุกรูปแบบ ในขณะที่มีทุนประกันฯ สูงที่สุดในกรณีที่จ่ายเบี้ยเท่ากันกับประกันชีวิตรูปแบบอื่น โดยจะจ่ายผลประโยชน์เท่ากับทุนประกันเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตเท่านั้น แต่หากผู้เอาประกันไม่เสียชีวิต เมื่อครบระยะเวลาคุ้มครอง จะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งประกันชีวิตรูปแบบนี้จะไม่มีมูลค่าเงินสด / มูลค่าเวนคืน หรือการจ่ายเงินปันผลใดๆ

ประกันชีวิตแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในการคุ้มครองสินเชื่อ เช่น ผู้เอาประกันมีระยะเวลาผ่อนชำระค่างวดบ้านอีก 15 ปี โดยมีเงินต้นคงเหลือประมาณ 2 ล้านบาท สามารถทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา 15 ปี ทุนประกัน 2 ล้านบาท เพื่อที่ว่า หากเสียชีวิตในช่วงระยะเวลาดังกล่าว บุคคลที่อยู่ข้างหลังจะได้นำผลประโยชน์ทุนประกันที่ได้รับไปชำระหนี้ที่เหลืออยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน

2) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)

“คุ้มครองตลอดชีพ เบี้ยค่อนข้างถูก ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ มีมูลค่าเงินสด / เวนคืน / เงินปันผล เสียชีวิตหรือครบเวลาได้ผลประโยชน์เท่ากับทุนประกัน สามารถหยุดชำระเบี้ยและใช้สิทธิขยายเวลาหรือใช้เงินสำเร็จได้”

“คุ้มครองตลอดชีพ เบี้ยค่อนข้างถูก ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ มีมูลค่าเงินสด / เวนคืน / เงินปันผล เสียชีวิตหรือครบเวลาได้ผลประโยชน์เท่ากับทุนประกัน สามารถหยุดชำระเบี้ยและใช้สิทธิขยายเวลาหรือใช้เงินสำเร็จได้”

ประกันชีวิตแบบนี้จะมีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีพ (90 หรือ 99 ปี แล้วแต่บริษัทประกัน) เหมาะสำหรับการวางแผนมรดก เนื่องจากอายุสัญญาที่ครอบคลุมตลอดชีพ หากผู้เอาประกันเสียชีวิต ทุนประกันที่ได้รับจะถูกส่งต่อให้กับผู้รับผลประโยชน์ แต่หากผู้เอาประกันอยู่ครบสัญญา บริษัทประกันก็จะจ่ายผลประโยชน์เท่ากับทุนประกันให้กับผู้เอาประกัน

นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับการวางแผนการดูแลสุขภาพตลอดชีพ โดยการซื้อสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพประกอบกับสัญญาหลัก เนื่องจากสัญญาเพิ่มเติมจะยังมีผลไปจนตลอดอายุของสัญญาหลัก

ประกันชีวิตแบบนี้มีมูลค่าเงินสด มูลค่าเวนคืน มีมูลค่าขยายเวลา และมูลค่าใช้สำเร็จ ผู้เอาประกันสามารถหยุดชำระเบี้ยเพื่อใช้สิทธิต่างๆ ได้

3) ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)

“คุ้มครองตลอดชีพ เบี้ยสูงมาก ทุนประกันต่ำ ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ มีมูลค่าเงินสด / เวนคืน / เงินปันผล เสียชีวิตหรือครบเวลาได้ผลประโยชน์เท่ากับทุนประกัน สามารถหยุดชำระเบี้ยและใช้สิทธิขยายเวลาหรือใช้เงินสำเร็จได้ ส่วนมากใช้ในการออม/สะสมเงิน ผลตอบแทนไม่สูง สัญญาเพิ่มเติมหมดพร้อมอายุสัญญาประกัน”

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะมีการกำหนดระยะเวลาของสัญญาเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20/12 คือ จ่ายเบี้ย 12 ปี คุ้มครองไปถึงปีที่ 20 หลังครบอายุสัญญาจะได้รับเงินคืนตามที่กรมธรรม์กำหนด เสมือนเป็นการสะสมเงินออมไว้จนถึงเวลาที่กำหนดจะได้เงินคืนพร้อมผลตอบแทนจำนวนหนึ่ง แต่ผลตอบแทนจากการซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้นไม่ได้มากนัก โดยมากแล้วจะประมาณ 3-4% ต่อปีทบต้น

สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ เช่น ประกันสุขภาพ แต่ข้อเสียของประกันประเภทนี้คือ สัญญาเพิ่มเติมจะสิ้นสุดลงพร้อมกับสัญญาหลัก นั่นหมายความว่า หากซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมไว้ เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาประกันสะสมทรัพย์ฉบับนี้ ประกันสุขภาพที่ทำไว้ก็จะสิ้นสุดลงเช่นกัน หากผู้เอาประกันไม่มีสวัสดิการประกันสุขภาพอย่างอื่น จะมีความเสี่ยงในการทำประกันสุขภาพครั้งใหม่ เพราะอายุที่เพิ่มขึ้น และอาจเกิดโรคบางอย่างทำให้ไม่สามารถคุ้มครองโรคที่เป็นได้

ประกันชีวิตแบบนี้มีมูลค่าเงินสด มูลค่าเวนคืน มีมูลค่าขยายเวลา และมูลค่าใช้สำเร็จ ผู้เอาประกันสามารถหยุดชำระเบี้ยเพื่อใช้สิทธิต่างๆ ได้

4) ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Insurance)

“จ่ายเบี้ยครบตามสัญญา จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินบำนาญรายงวดเท่าๆ กัน หากเสียชีวิตจะได้รับเงินบำนาญที่เหลืออยู่เป็นเงินก้อน มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดลงทุน”

ประกันชีวิตแบบนี้เรียกว่าเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณอายุจากการทำงานค่ะ ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยประกันตามที่สัญญากำหนดให้ครบ หลังจากนั้นบริษัทประกันจะจ่ายเงินผลประโยชน์เป็นเงินบำนาญช่วงอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่สัญญา เป็นเงินงวดเท่าๆ กันไปจนอายุประมาณ 85 ปี (บางบริษัทอาจแตกต่างจากนี้) เสมือนเป็นการที่ผู้เอาประกันเก็บเงินไว้สำหรับเกษียณอายุในช่วงที่ยังสามารถทำงานมีรายได้อยู่ เพื่อที่หลังเกษียณจะมีรายได้สำหรับใช้จ่ายค่ะ

ประกันชีวิตแบบนี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณอายุและผู้ที่ไม่ถนัดลงทุนสำหรับพอร์ตเกษียณอายุค่ะ

5) ประกันชีวิตควบการลงทุน (Universal / Unit linked)

“จ่ายเบี้ยสำหรับคุ้มครองชีวิต + ลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้รับมี 2 ส่วนคือ ทุนระกันชีวิต + ผลประโยชน์จากการลงทุน ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ มีความยืดหยุ่นในการชำระเบี้ย”

ประกันชีวิตรูปแบบนี้ จะเป็นการทำประกันชีวิตที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนควบคู่กันไปด้วย บริษัทจะนำเงินส่วนของการลงทุนไปลงทุนในกองทุนรวมที่มีโอกาสเติบโต โดยความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนจะสัมพันธ์กับการประเมินความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัย ประกันชีวิตแบบนี้จะมีความยืดหยุ่นสูงมากเพราะ

  • สามารถเพิ่ม-ลดเบี้ยที่จ่ายในแต่ละงวดได้
  • สามารถเลือกว่าจะนำไปเพิ่ม-ลดการลงทุน หรือเพิ่ม-ลดความคุ้มครอง
  • สามารถหยุดชำระเบี้ยได้ชั่วคราว และ
  • สามารถถอนเงินบางส่วนมาใช้ได้โดยกรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่

สำหรับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิต จะได้รับทุนประกัน + ผลประโยชน์จากการลงทุน แต่หากอยู่ครบสัญญาจะได้รับเงินค่าขายหน่วยลงทุนคืน และสำหรับใครสนใจประกันชีวิตและไม่รู้ว่าประกันชีวิตแบบไหนที่เหมาะกับตนเอง สามารถติดต่อสอบถามให้เราช่วยวิเคราะห์แบบที่เหมาะกับคุณได้เลย

ติดต่อ สอบถาม รับคำปรึกษา
Line @greatlifeadviser หรือคลิก https://lin.ee/Lq9D46f
Web www.greatlifeadvisor.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *