Skip to content
Home » มาเขียนพินัยกรรมกันเถอะ

มาเขียนพินัยกรรมกันเถอะ

มาเขียนพินัยกรรมกันเถอะ

มาเขียนพินัยกรรมกันเถอะ

สวัสดีค่า มาเขียนพินัยกรรมกันเถอะ วันนี้จะมาชวนคุยเรื่องการทำพินัยกรรมซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีในการส่งต่อความมั่งคั่ง ค่ะ

ก่อนอื่นขอเท้าความเรื่องวิธีการส่งต่อความมั่งคั่งตามหลักการวางแผนการเงินก่อนนะคะ เราสามารถส่งต่อความมั่งคั่งได้ 2 วิธีหลักๆ คือ

  1. การส่งต่อด้วยกรมธรรม์ประกันชีวิต
  2. การส่งต่อด้วยพินัยกรรม

หลายคนอาจมองว่าการทำพินัยกรรมเป็นเรื่องยากและไม่จำเป็นใช่ไหมคะ บางคนคิดว่าการทำพินัยกรรมเป็นเรื่องของคนสูงอายุที่มีทรัพย์สมบัติมากมาย หรือเฉพาะคนที่มีทายาทเท่านั้นที่ต้องทำพินัยกรรม

แต่ความเป็นจริงแล้ว การทำพินัยกรรมเป็นเรื่องของทุกคนค่ะ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และศาลไม่ได้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถทำพินัยกรรมได้ คนที่มีทรัพย์สินทุกคนสมควรทำพินัยกรรมไว้ค่ะ เหตุผลก็เพราะเมื่อเราเริ่มมีทรัพย์สิน ต่อให้ทรัพย์นั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด แต่นั่นก็ถือเป็นทรัพย์สินของเรา การทำพินัยกรรมไว้ย่อมดีกว่าการไม่ทำ เพราะการทำพินัยกรรม ผู้ทำฯ สามารถจัดสรรทรัพย์มรดกให้กับผู้รับมรดกได้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ ไม่จำเป็นต้องตามสัดส่วนให้ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย นอกจากนี้พินัยกรรมยังช่วยลดภาระและความยุ่งยากของผู้ที่เราต้องใจมอบทรัพย์มรดกให้ด้วยค่ะ

การทำพินัยกรรมนั้นไม่ได้ยากอะไรอันที่จริงสามารถทำได้ง่ายกว่าที่หลายๆ คนคิด ส่วนวิธีการทำอย่างไร เราจะอธิบายต่อไปค่ะ

ก่อนอื่นขออธิบายเรื่องแบบของพินัยกรรมก่อนนะคะ ในการทำพินัยกรรม กฎหมายกำหนดรูปแบบไว้ 5 แบบด้วยกัน ดังนี้

  1. พินัยกรรมแบบธรรมดา – เป็นพินัยกรรมที่พิมพ์ข้อความขึ้นและพิมพ์ลงในกระดาษ ลงวันเดือนปีที่ทำให้ชัดเจน และผู้ทำต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน โดยพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองการทำพินัยกรรมในขณะทำด้วย และที่สำคัญพยานต้องไม่ใช่ผู้รับทรัพย์มรดกในพินัยกรรมค่ะ
  2. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง – เป็นแบบพินัยกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการโดยเฉพาะที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน ผู้ทำพินัยกรรมพร้อมพยานทั้งสองต้องลงลายมือชื่อไว้ ต่อจากนั้นเจ้าพนักงานจะลงลายมือชื่อ วันเดือนปีที่ทำ พร้อมประทับตราตำแหน่ง
  3. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ – ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือพิมพ์พินัยกรรมแล้วลงลายมือชื่อตัวเอง และปิดผนึกพินัยกรรมพร้อมทั้งลงลายมือชื่อทับรอยผนึก จากนั้นให้นำพินัยกรรมไปแสดงต่อเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมทั้งพยานอย่างน้อย 2 คน เจ้าหน้าที่จะจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไว้บนซอง และประทับตราตำแหน่ง โดยผู้ทำฯ พยาน และเจ้าหน้าที่ต้องลงลายมือชื่อไว้หน้าซองตรงที่ปิดผนึกไว้เป็นเอกสารลับ
  4. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา – กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่บุคคลไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่น เช่น ผู้ที่เจ็บป่วยหนักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล สามารถทำพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจาได้ โดยผู้ทำฯ ต้องแสดงเจตนาทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน พยานต้องรับฟังข้อความนั้นแล้วไปแจ้งต่อทางราชการโดยเร็วที่สุด ทั้งยังต้องแจ้งวันเดือนปี สถานที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นด้วย เจ้าพนักงานต้องจดข้อความที่พยานแจ้งไว้และพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้
  5. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ – เป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำสามารถเขียนขึ้นได้เอง โดยผู้ทำฯ ต้องเขียนขึ้น 2 ฉบับและมีข้อความที่ตรงกัน จากนั้นลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ต้องมีพยาน

พินัยกรรมแบบนี้สามารถทำได้ง่ายและทำได้ทันที และมีผลทางกฎหมายโดยไม่ต้องมีพยานรับทราบ ซึ่งพินัยกรรมแบบนี้เป็นแบบที่เราแนะนำให้ทุกคนรีบทำเลยทันทีค่ะ เพียงแค่หยิบกระดาษกับปากกามา ก็สามารถเขียนพินัยกรรมขึ้นมาได้แล้ว โดยต้องเขียนทั้งหมด 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน หากมีหลายหน้า ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกหน้า หลังจากนั้นก็เพียงแค่เก็บไว้ในที่ปลอดภัยและแจ้งสถานที่จัดเก็บไว้กับผู้ที่ไว้ใจให้รับทราบหรือให้มีผู้เก็บพินัยกรรมไว้ค่ะ

สำหรับรูปแบบและตัวอย่างของพินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองเราจะคอมเม้นต์ไว้ใต้โพสต์นะคะ

แต่การทำพินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองนั้นก็มีข้อควรระวังที่อาจเป็นข้อผิดพลาดของพินัยกรรมนะคะ เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • ถ้ามีการแก้ไขข้อความในพินัยกรรแบบเขียนขึ้นเอง ต้องลงชื่อกำกับไว้ทุกครั้ง
  • ถ้าพินัยกรรมมีหลายแผ่น ต้องลงลายมือชื่อทุกแผ่น เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความ
  • ปากกาที่ใช้เขียนควรเป็นปากกาด้ามเดียวกัน
  • มีวันเดือนปี พ.ศ. ที่เขียนอย่างชัดเจน
  • พินัยกรรมสามารถทำใหม่ได้ โดยยึดฉบับที่มีวันเดือนปีล่าสุด

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าการทำพินัยกรรมนั้นไม่ได้ยากเลย เราแนะนำอย่างยิ่งนะคะให้ทุกคนเขียนขึ้นทันทีค่ะ แต่ความจริงเราสามารถวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งได้ด้วยทั้งการทำพินัยกรรมและการทำกรมธรรม์ประกันชีวิตควบคู่กัน เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสองวิธี

การทำพินัยกรรมสามารถทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจากผู้ทำฯ เสียชีวิต จะต้องมีช่วงเวลาดำเนินการในการนำพินัยกรรมร้องต่อศาลเพื่อขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ก่อนที่ผู้รับมรดกจะเรียกร้องต่อทรัพย์มรดก ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำประมาณ 6 เดือน

แต่กรณีทำกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้ที่เราต้องการให้ได้รับทุนประกันฯ เป็นมรดก ข้อดีคือบริษัทประกันจะสามารถจ่ายเงินเอาประกันได้รวดเร็ว (โดยปกติภายใน 2 สัปดาห์) แต่ผู้เอาประกันมีภาระที่ต้องชำระเบี้ยตามสัญญา

ดังนั้นเราสามารถวางแผนเพื่ออาศัยประโยชน์จากข้อดีของทั้ง 2 วิธี คือทำกรมธรรม์ในจำนวนทุนประกันที่พอเหมาะ เพื่อที่ผู้รับมรดกจะได้รับเงินเอาประกันจากบริษัทประกันมาบริหารจัดการเป็นสภาพคล่องก่อนในขณะที่ยังดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารพินัยกรรมก่อนที่จะได้รับทรัพย์มรดกค่ะ

สุดท้ายนี้ถ้าใครไม่รู้จะเริ่มยังไง สนใจอยากให้ช่วยแนะนำการวางแผนส่งต่อความมั่งคั่ง ติดต่อมาได้เลยนะ วางแผนให้ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย จนกว่าจะมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ซึ่งจะเป็นไปตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับใดๆ ทั้งสิ้นค่า

ติดต่อ สอบถาม รับคำปรึกษา
Line @greatlifeadviser หรือคลิก https://lin.ee/Lq9D46f
Web www.greatlifeadvisor.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *